10 กองทุน คว้ารางวัลกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2023

3809

วารสารการเงินธนาคาร ได้ทำการจัดอันดับกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี Best Mutual Fund of the Year เป็นประจำทุกปี โดยแบ่งพิจารณาจัดอันดับกองทุนรวมออกเป็น 10 กลุ่มตามนโยบายการลงทุน และใช้ 4 ปัจจัยในการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ได้แก่ ผลตอบแทนรวม (Total Return) ความผันผวนของราคารายวัน (Standard Deviation) ขนาดของกองทุน (Size of Fund) และผลงานโดยเฉลี่ยของบริษัทจัดการกองทุน เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะการลงทุนในปัจจุบัน ที่นอกจากจะต้องพิจารณาเรื่องผลตอบแทนแล้ว ยังได้คำนึงถึงความเสี่ยงในการลงทุนประกอบด้วย

สำหรับการจัดอันดับกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2566 Best Mutual Fund of the Year 2023 นี้ เป็นการ วัดผลการดำเนินงานของกองทุน ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ซึ่งกองทุนที่มีผลการดำเนินงานเป็นอันดับ 1 ทั้ง 10 กลุ่ม จะได้รับการยกย่องให้เป็นกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2023 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน 9 แห่งโชว์ผลงานโดดเด่นคว้ารางวัลไปครอง

โดยรายละเอียดของทั้ง 10 กลุ่มกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2023 มีดังนี้

กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ตราสารหนี้ เดลี่ พลัส มีนโยบายการลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารทางการเงิน และ/หรือเงินฝาก หลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดให้กองทุนลงทุนได้ โดยอาจจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ต่างประเทศ ได้ไม่เกิน 79%

กองทุนจะไม่ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ Non-investment grade ตราสารหนี้ Unrated อย่างไรก็ตาม กองทุนอาจมีไว้ซึ่งตราสารหนี้ Non-investment grade ตราสารหนี้ Unrated ได้เฉพาะกรณีที่ตราสารหนี้นั้นได้รับจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ (Investment grade) ในขณะที่กองทุนลงทุนเท่านั้น และอาจมีการลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Note) ไม่มีนโยบายจ่ายปันผล ความเสี่ยงหลัก Credit risk, Market risk, Liquidity risk, FX risk

กองทุนเปิด ทิสโก้ ยูเอส ตราสารหนี้ระยะสั้น มีนโยบายและกลยุทธ์การลงทุนด้วยการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน SPDR Barclays 1-3 Month T-Bill ETF ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Bloomberg Barclays 1-3 Month U.S. Treasury Bill บริหารและจัดการโดย SSGA Funds Management, Inc.

ทั้งนี้ กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักใช้กลยุทธ์การลงทุนเพื่อมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีไม่น้อยกว่า80%ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ( NAV) ของกองทุน

กองทุนเปิดเค แพลน 2 นโยบายการลงทุน เป็นกองทุนผสมลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ และหรือเงินฝาก โดยจะลงทุนในหุ้นไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน ลงทุนในต่างประเทศไม่เกิน 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศ และไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของเงินลงทุนในตราสารทุนต่างประเทศ

กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) และตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes) กองทุนนี้อาจลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมภายใต้บริษัทจัดการเดียวกันได้ไม่จำกัดอัตราส่วน

กองทุนเปิด อเบอร์ดีน สมอล-มิดแค็พ นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ( SET) และ/หรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก เพื่อให้มี net exposure ในตราสารทุนดังกล่าวโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม

บริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก หมายถึง บริษัทจดทะเบียนใน SET และหรือ mai รวมถึงการจองซื้อหุ้นไอพีโอที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) ไม่เกิน 80,000 ล้านบาท ณ วันทำการ ก่อนหน้าวันที่ลงทุน กองทุนมีกลยุทธ์การลงทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด

กองทุนเปิดบัวหลวงภารตะ นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน ลงทุนในหน่วยลงทุนของ RAMS Investment Unit Trust – India Equities Portfolio Fund II, Class I (USD) (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ( NAV)ของกองทุน

กองทุนหลักมีนโยบายการลงทุนมุ่งหาผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนในระยะยาวผ่านการลงทุนในตราสารทุนและสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัทที่จัดตั้งหรือดำเนินธุรกิจในอินเดีย โดยจะลงทุนในตลาดอินเดียไม่น้อยกว่า 90% ของ NAV กองทุนหลักบริหารจัดการโดย Nippon Life India Asset Management (Singapore) Pte. Ltd.

ลงทุนใน Derivatives เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน และ/หรือ Structured Note กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก โดยกองทุนหลักมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

กองทุนเปิดธนชาตตลาดเงินเพื่อการเลี้ยงชีพ นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน ลงทุนในเงินฝาก ตราสารแห่งหนี้ ธุรกรรมทางการเงิน หรือตราสารทางการเงินอื่นใดที่มีกำหนดวันชำระหนี้ตามตราสารเมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือไม่เกิน 397 วัน นับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สินหรือเข้าทำสัญญา โดยกองทุนกำหนดอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินที่จะได้รับจากทรัพย์สินที่กองทุนรวมลงทุนหรือมีไว้ (Portfolio Duration) ในขณะใดๆ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 92 วัน มุ่งหวังให้ได้รับผลประกอบการเคลื่อนไหวสูงกว่าดัชนีชี้วัด

ดัชนีชี้วัด ประกอบด้วย 1. ดัชนีตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น (ThaiBMA Commercial Paper Index) ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในระดับ A- ขึ้นไป ของสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย สัดส่วน 50% 2. ดัชนีตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้น (Short-term Government Bond Index) สัดส่วน 50% สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลังแบบปักหมุด ผลการดำเนินงานน้อยกว่า 1 ปี คำนวณตามระยะเวลาจริง

กองทุนเปิดเคเคพี หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน กองทุนมีนโยบายลงทุนในตราสารทุน โดยมี Net exposure ในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV)ของกองทุน โดยเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่อยู่ในระหว่างดําเนินการขอเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานและผลประกอบการดี มีแนวโน้มการเติบโตสูงและมีความมั่นคงในด้านฐานะการเงิน

ทั้งนี้ กองทุนอาจลงทุนในตลาดตราสารหนี้หรือเงินฝากของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับหรือเห็นชอบจากสํานักงาน ก.ล.ต. บริษัทที่มีเสถียรสภาพทางการเงินดี รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ ธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เป็นผู้ออกผู้รับรอง ผู้รับอาวัล ผู้สลักหลังผู้ค้ำประกัน หรือคู่สัญญา โดยจะปรับเปลี่ยนการลงทุนในตราสารดังกล่าวตามสภาวการณ์เพื่อให้ผู้ถือหน่วยได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในตราสารทุนในประเทศโดยการเข้าทําสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มี Underlying เป็น ดัชนี SET50 Index นอกจากนี้ กองทุนอาจลงทุนในกองทุนรวมอื่นภายใต้ บลจ.เดียวกัน (Cross Investing Fund) ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 20 ของ NAV โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต.กําหนด กลยุทธ์การลงทุน มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)

กองทุนเปิด ยูโอบี ชัวร์ เดลี หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม กลยุทธ์การลงทุน เน้นลงทุนในตราสารแห่งหนี้ภาครัฐ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐ ตราสารแห่งหนี้ที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน และเงินฝากหรือตราสารเทียบเท่า เงินฝาก แต่ไม่รวมถึงเงินฝากอิสลาม โดยกองทุนจะดำรงอายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของตราสารทั้งหมดของกองทุน (Portfolio Duration) ในขณะใดๆ ไม่เกิน 92 วัน และตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนจะลงทุนหรือมีไว้จะต้องมีกำหนดวันชำระหนี้ตามตราสารเมื่อทวงถามหรือเมื่อได้เห็น หรือไม่เกิน 397 วันนับแต่วันที่ลงทุนในทรัพย์สิน หรือเข้าทำสัญญา

กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์เซ็ท 50-เพื่อการออม นโยบายและกลยุทธ์การลงทุน ลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน โดยเน้นตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET50 ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ สถาบันการเงิน บริษัทเอกชน หรือเงินฝากธนาคาร

กองทุนอาจจะเข้าทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (EfficientPortfolio Management) ซึ่งรวมถึงการป้องกันความเสี่ยง (Hedging) จากการลงทุน กองทุนมุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active management)

กองทุนเปิดเคเคพี SET50 ESG ชนิดเพื่อการออม มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุน โดยกองทุนมีเป้าหมายมุ่งเน้นลงทุนในตราสารทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนี SET 50 โดยจะคัดเลือกหลักทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทจัดการกําหนด เช่น หลักเกณฑ์ด้านปัจจัยพื้นฐาน และ/หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย และ/หรือการดําเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environmental Social and Governance) เป็นต้น

กองทุนจะลงทุนในหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของ NAV โดยการนับสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ดังกล่าว ไม่รวมถึงการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในระหว่าง IPO เพื่อการจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าว

กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivative) เพื่อลดความเสี่ยง (Hedging) และ/หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) กองทุนอาจลงทุนในกองทุนรวมอื่นหรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ภายใต้บลจ.เดียวกัน (Cross Investing Fund) ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่เกินร้อยละ 35 ของ NAV โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขที่สํานักงาน ก.ล.ต.กําหนด

กลยุทธ์การลงทุน มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัดและในบางโอกาสอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด

หลักเกณฑ์การจัดอันดับกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2023

          ในการจัดอันดับกองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี 2023 มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้