ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง บทเรียนเมื่อปิด 4 กองทุนตราสารหนี้

หลังจากช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทหารไทย
จำกัด (TMBAM Eastspring) ได้ยกเลิกโครงการ หรือปิด 4
กองทุนตราสารหนี้ ประกอบด้วย กองทุนเปิดทหารไทยธนเพิ่มพูน กองทุนเปิดทหารไทย
ธนพลัส กองทุนเปิดทหารไทย ธนไพศาล กองทุนเปิด ทหารไทย ธนไพบูลย์ และกองทุนเปิดทหารไทย ธนเพิ่มพูน
ซึ่งได้มีการทยอยคืนเงินให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างต่อเนื่อง
ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19
ซึ่งเป็นวิกฤติครั้งร้ายแรงที่โลกเผชิญ กับตลอดระยะเวลา 7 เดือนกว่าที่ TMBAM Eastspring ได้ดำเนินการกับ
4
กองทุนข้างต้นถือว่าเป็นการบริหารจัดการที่สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพของผู้จัดการกองทุน
ที่มีเป้าหมายหลักหรือหัวใจสำคัญเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ลงทุน
ปิด 4 กองทุนตราสารหนี้
ตัดไฟแต่ต้นลม
จากสถานการณ์ความผันผวนที่เกิดขึ้นกับตลาดทุนทั่วโลก
รวมถึงตลาดตราสารหนี้ที่ผู้ลงทุนเกิดความตระหนกและเกิดการเทขายอย่างรุนแรง (Panic Sell)ทำให้กองทุนไม่สามารถขายตราสารที่ถืออยู่ออกไปในราคาที่เหมาะสม
จนนำไปสู่การปิดกองทุนทั้ง 4 กอง
เพื่อคำนึงถึงประสิทธิภาพในการซื้อ-ขายตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ (Investment Grade Bonds) ในพอร์ตการลงทุน
นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงด้านราคา
บลจ.ไม่ต้องการให้ผู้ลงทุนที่ถือหน่วยอยู่ต้องขาดทุนสูง
(ถ้าหากยังคงถือหน่วยฯอยู่ในกองทุน) ทั้ง ๆ ที่ยังมีการเทขายตราสารหนี้อย่างเนื่อง
จึงต้องยกเลิกโครงการกองทุน (ปิดกองทุน) เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ลงทุน
การเทขายกองทุนตราสารหนี้ที่เกิดจากความตื่นตระหนกในครั้งนี้
จะเห็นได้ว่า เฉพาะกองทุนเปิดทหารไทยธนพลัส และกองทุนเปิดทหารไทยธนไพศาล
ตั้งแต่วันที่ 16 - 26 มีนาคม 2563 มีปริมาณการขายโดยรวมสูงถึงร้อยละ 67 และ
ร้อยละ 66 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน หรือ NAV ตามลำดับ และการเทขายอย่างรุนแรงในวันที่ 26
มีนาคม ซึ่งคิดเป็นปริมาณร้อยละ 33 และร้อยละ 51 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนตามลำดับ
ขณะที่สภาพตลาดตราสารหนี้กลับเบาบาง
ดังนั้น การตัดสินใจปิดกองทุน
ยกเลิกคำสั่งซื้อขายในธุรกรรมทั้งหมด มาถึงวันนี้
ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง
เพราะหากยังคงเปิดต่อ จะทำให้ผู้ถือกองทุนขาดทุนหนักมาก
รักษามูลค่าเงินลงทุนลดความสูญเสีย
ในระหว่างที่ปิดกองทุน
ทางผู้จัดการกองทุนยังคงทำหน้าที่ในการดูแลผลประโยชน์ของผู้ลงทุนให้ดีที่สุด
เพื่อต้นทุนที่ดีและแตกต่างจากการถูกบังคับให้ขายกองทุนในเวลาที่สถานการณ์ผิดปกติ
จนเกิดความเสียหายแก่ผู้ลงทุน
การรักษามูลค่าเงินลงทุน (capital preservation) ไว้ได้ให้เท่ากับวันที่ปิดกองทุนถือว่าสำคัญที่สุด
ถ้าวันนั้นไม่มีการปิดกองทุนจะไม่ยุติธรรมสำหรับคนที่ไม่รู้ความเคลื่อนไหว
รายใหญ่อาจจะไม่มีปัญหาเพราะมีกระจายการลงทุนไปที่อื่น
แต่ผู้ลงทุนรายย่อยจะไม่ทราบและได้รับผลกระทบ ถ้ามีการขายไปเรื่อยๆ
ทำให้มูลค่าหน่วยลดลง แม้ว่าการตัดสินใจปิดกองทำให้สามารถรักษาหน่วยลงทุนไว้ได้
แต่อาจจะมีสภาพคล่องที่ลดลงบ้างก็ตาม
คืนเงินตามสัญญา
กองทุน "ธนพลัส" จ่ายคืน 100.06%
ความคืบหน้าการจ่ายเงินคืนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดทหารไทย ธนพลัส ณ วันแรกที่ตัดสินใจปิดภายใน 1 สัปดาห์ได้มีการจ่ายก้อนแรกไป ประมาณ 10% (จ่ายหมดใช้เวลาประมาณ 7 เดือนกว่า ณ วันที่ปิดกอง) และจากการปิดครั้งนั้น (ณ 25 มี.ค.63) จากสถานการณ์โควิด ถึงวันนี้ ทาง TMBAM Eastspringได้ทำการทยอยคืนเงินได้ตามสัญญามิได้ขาดทุน มีบางกองทุนที่ได้กำไรเล็กน้อย
กองทุนเปิดทหารไทย ธนพลัส จ่ายคืน 100.06%
นับว่าการจัดการคืนเงินได้ตามสัญญา และเร็วกว่ากำหนดที่คาดการณ์ไว้
หลังกองทุนได้ขายตราสารทั้งหมดในกองทุนเรียบร้อยแล้ว
และดำเนินการจ่ายเงินคืนครั้งที่15 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
โดยมีมูลค่า 0.1096 บาทต่อหน่วยลงทุน
รวมจำนวนทั้งหมดในการชำระเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุน เท่ากับ 12.1891 บาทต่อหน่วย
โดยกองทุนสามารถรักษามูลค่าหน่วยลงทุนเพื่อจ่ายชำระเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุนในระดับราคาใกล้เคียงกับมูลค่าหน่วยลงทุน
ณ วันทำการซื้อขายสุดท้ายได้ (คิดเป็นร้อยละ100.06 เมื่อเทียบกับมูลค่าหน่วยลงทุน
ณ วันทำการซื้อขายสุดท้ายที่ 12.1812 บาทต่อหน่วยลงทุน)
ภายหลังการจ่ายเงินคืนครั้งสุดท้าย
และถือเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการชำระเงินคืนผู้ถือหน่วยลงทุน โดย TMBAM Eastspring จะเร่งดำเนินการตามขั้นตอนการชำระบัญชี
(Liquidation) ตามเกณฑ์ให้เสร็จสิ้นเรียบร้อยต่อไป
การจัดการคืนสินทรัพย์ได้เร็วกว่ากำหนด แสดงให้เห็นว่า การบริหารกองทุนมีความเป็นมืออาชีพ สินทรัพย์ที่ลงทุนถือว่าเป็น Investment Grade bonds มีคุณภาพ การซื้อขายต่อเนื่อง ทั้ง 4 กอง จึงสามารถทำการซื้อขายได้กำไรคืนอย่างคุ้มค่าและรวดเร็ว
สำหรับความคืบหน้าในการจ่ายเงินคืนของ กองทุนเปิดทหารไทย ธนไพศาล กองทุนเปิดทหารไทย ธนเพิ่มพูน และกองทุนเปิดทหารไทยธนไพบูลย์นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับจากผลสำรวจความเห็นของผู้ถือหน่วยลงทุนส่วนใหญ่โดยสินทรัพย์ในกองทุนทั้ง 3 กองทุนเป็นตรา สารหนี้คุณภาพดี ไม่ได้มีปัญหาผิดนัดชำระหนี้และบริษัทได้ดำเนินการจ่ายเงินคืนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน ไปแล้วร้อยละ 88-94 ของมูลค่าหน่วยลงทุน ณ วันทำการซื้อขายสุดท้ายของกองทุน
บทสรุป การปิด 4 กองทุนตราสารหนี้ครั้งนี้
ทำให้ผู้ลงทุนต้องเกิดการเรียนรู้ว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง
ดังนั้น ต้องมีการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ไม่คาดคิด
(เหมือนโควิดที่ผ่านมา) และอีกบทเรียนที่ได้รับในครั้งนี้ นั่นก็คือ ต้องตั้งสติ
อย่าตื่นตกใจเกินเหตุ เมื่อตลาดมีความผันผวนหรือปรับตัวลงอย่างรุนแรง เพราะการตื่นตกใจเกินกว่าเหตุอาจทำให้ขาดทุนโดยไม่จำเป็นเช่นเหตุการณ์
Panic Sell ที่เกิดกับตลาดตราสารหนี้รอบนี้