Crowdfunding คราวด์ฟันดิง ทางเลือกในการระดมทุน และการลงทุน

จากที่ครั้งก่อนเราพูดถึง Crowdfunding ในภาพใหญ่กันแล้วว่า
เป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากในการระดมทุนสำหรับ SME หรือ Start
up ไปแล้วนะครับ
วันนี้เรามาดูว่ากลไกการระดมทุนของ Crowdfunding ได้เคยมีเรื่องราวความสำเร็จไปแล้วมีเรื่องราว
เงินทุนที่ระดมทุน และรูปแบบการระดมทุนเป็นอย่างไรบ้างนะครับ
โดยขอเริ่มจากเรื่องราวเบาๆ สนุกๆ เกี่ยวกับการระดมทุนแบบ Reward
Crowdfunding กันก่อน
Reward Crowdfunding เป็นรูปแบบการระดมทุนที่เหมาะกับคนที่มีไอเดีย
อยากทำอยากประดิษฐ์สิ่งของ ทั้งที่มีตัวอย่างลองทำออกมาดูแล้ว (เป็น prototype) หรือยังเป็นขั้นแนวความคิด
ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบาย Crowdfunding platform ที่เราเลือกนะครับ
ว่ามีนโยบายในการให้โครงการเป็นแบบไหน จึงถูกกติกา และนำออกสู่สายตาชาวโลกได้ ซึ่งในส่วนนี้สามารถสอบถาม
Crowdfunding platform ได้เลย
การระดมทุนแบบ Reward Crowdfunding นี้
นอกเหนือจากเงินที่ได้ไปดำเนินการผลิตของแล้ว ยังมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการได้รับเงินทุนเลย
นั่นคือ การได้ทดสอบตลาดแบบฟรีๆ กันครับ หลายๆ โครงการอยากได้เงินไปสร้างต้นแบบ Prototype
ในจำนวนเงินไม่มาก แต่เมื่อนำขึ้น platform ปรากฏว่าไปโดนใจผู้คน
มียอดจองเข้ามามากมาย ได้เงินไปเกินกว่าที่คาด หลายสิบ หลายร้อยเท่า
ส่งผลให้ได้ตลาดที่รองรับสินค้าที่ทดลองผลิตไปในตัว เรียกได้ว่าทำเป็นจริงเป็นจังได้เลย
ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จอย่างมากมายตัวอย่างแรกคือ Pebble watch ซี่งเป็น smart
watch ในปี 2555 ที่ได้เงินไปกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ ผ่าน Kickstarter
platform
Pebble watch ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย คุณ Eric Migicovsky วิศวกรชาวแคนาดา
ซึ่งชื่นชอบการขี่จักรยาน แต่มี pain point ที่ต้องละมือทั้งคู่
มาหยิบดูโทรศัพท์ ทุกครั้งที่โทรศัพท์มีการเตือนขึ้นมา แล้วในการหยิบดูทุกครั้ง
เค้าต้องใช้สองมือในการกดดู ซึ่งรบกวนการขี่จักรยานของเค้ามากๆ
(ยิ่งตอนรถบนถนนเยอะๆ ยิ่งทำให้ลำบาก และอันตราย จริงมั้ยครับ) เค้าจึงไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม และพบว่า
ในวันหนึ่งๆ ผู้คนเอามือถือมาดูโดยเฉลี่ยประมาณ 120 ครั้งกันเลยทีเดียว
แสดงว่าคนอื่นๆ น่าจะมีปัญหานี้เหมือนกับเค้าบ้างเหมือนกัน คุณ Eric เลย
เกิดไอเดียว่า จะดีแค่ไหนหากเค้า และคนอื่นๆ สามารถดูทุกอย่างที่เข้ามาที่โทรศัพท์
ได้จากข้อมือเค้าเอง วันนั้นเค้าจึงกลับไปที่หอพัก และลองประดิษฐ์นาฬิกาข้อมือที่สามารถแสดงข้อความจาก
smartphone ได้ ซึ่งในครั้งแรก คุณ Eric นำเสนอไอเดียให้กับ Angle investor จำนวน 6
คน
และได้เงินมาเพื่อพัฒนา 375,000 เหรียญสหรัฐฯ เลยทีเดียว จากเงินจำนวนนี้ ทำให้เค้าสามารถนำไปสร้างในส่วนของ
hardware ได้ (ผมจะเล่าเรื่องเส้นทางการระดมทุนของบรรดานักคิดเพิ่มเติมในคราวต่อๆไปนะครับ)
อย่างไรก็ตามโครงการภายใต้ชื่อแบรนด์ Pebble ไม่สามารถดึงดูดความสนใจ และสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั่วไปได้ จึงทำให้การระดมทุนไม่สามารถทำได้ต่อ
คุณ Eric จึงหันไปมองการระดมทุน แบบ alternative
funding จาก Crowdfunding แทน ซึ่งในตอนนั้น คุณ Eric ตั้งใจว่าอยากจะระดมทุนให้ได้สัก
1 แสนเหรียญสหรัฐฯ
ภาพจาก kickstarter.com
ผลจากการระดมทุนในครั้งนั้น (เมษายน ปี 2555) ปรากฎว่าเค้าได้เงิน
1 แสนเหรียญสหรัฐฯ ในเวลา 2 ชั่วโมง และเมื่อจบโครงการ เค้าระดมทุนไปได้กว่า
10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประชาชนจำนวน 68,929 คน (เฉลี่ยคนละประมาณ
148 เหรียญสหรัฐฯ) นับเป็นความสำเร็จที่โลกหันมาจับตามองการระดมทุนแบบ Crowdfunding
ว่ามีพลังขนาดไหน
Pebble watch เริ่มมีการส่งมอบในเดือน มกราคม 2556
(ช้ากว่าที่คาดการณ์ที่จะส่งมอบในเดือน กันยายน 2555 โดยมีกำลังการผลิต 60,000 เครื่องต่อเดือน
ผลจากความสำเร็จทำให้ในอีก 1 ปีต่อมา (ปี 2556) Charles
River Ventures (CRV) ติดต่อเข้ามาลงทุนในบริษัทอีก 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และมีส่วนสำคัญในการพา Fitbit เข้ามาซื้อ Pebble watch
ในส่วนของซอฟท์แวร์ ในเวลาต่อมี ด้วยมูลค่ากว่า 23 ล้านเหรียญสหรัฐ
จะเห็นได้ว่า Crowdfunding มีประโยชน์มากกว่าเพียงจำนวนเงินที่เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดธุรกิจ
หรือช่วยทำให้โครงการที่เป็นความฝันสามารถแปลงมาเป็นความจริงได้ ผมขอสรุปข้อดีจากตัวอย่างของ
Pebble watch ดังนี้ครับ
ในครั้งหน้ามาคุยกันต่อ ด้วยตัวอย่างความสำเร็จของการใช้ Crowdfunding
กับสิ่งประดิษฐ์ที่เราทำกันได้
เพียงขอให้มีไอเดีย แล้วพบกันครับ