ถึงเวลาปรับพอร์ต: Reloaded for The Next Move

รูปที่ 1 อัตราผลตอบแทนตลาดหุ้นทั่วโลกตั้งแต่ 23 มีนาคม 2020 | Source : Bloomberg As of 22/02/2021
หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศทำ Unlimited QE ในวันที่ 23 มีนาคม 2020 ที่ผ่านมา ขณะที่ธนาคารกลางหลักๆ อีกหลายประเทศก็เดินหน้าใช้มาตรการกระตุ้นในปริมาณมหาศาล เพื่อรับมือผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อประกอบกับการอนุมัติใช้วัคซีนไวรัส COVID-19 และการชนะการเลือกตั้งของนายโจ ไบเดน ในช่วงปลายปี 2020 ซึ่งประกาศใช้มาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ ช่วยหนุนมุมมองการฟื้นตัวเศรษฐกิจที่ชัดเจน ส่งผลให้ตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 11 เดือนที่ผ่านมา
รูปที่ 2 US10Y Breakeven และ
US Government Bond 2-10 Spread |
Source : Bloomberg As of 22/02/2021
มุมมองดังกล่าวนอกจากจะหนุนการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นแล้ว
ยังสร้างความคาดหวังต่ออัตราเงินเฟ้อที่สะท้อนออกมาผ่านดัชนี US Breakeven ในช่วงที่ผ่านมาใด้ปรับตัวทำจุดสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ปี
2014
ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลทั่วโลกปรับตัวขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรระยะยาว ซึ่งสะท้อนผ่านทาง 2-10 Spread ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้ Earnings Yield Gap ซึ่งเป็นกระบวนการพิจารณา
Valuation ของดัชนี S&P 500 ด้วยมุมมองของส่วนชดเชยความเสี่ยง
ลดลงจนแตะระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 จาก Valuation ที่สูงขึ้นในฝั่งของตลาดหุ้น
และการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
รูปที่ 3 S&P 500
Index & Earning Yield Gap | Source :
Bloomberg As of 22/02/2021
ในขณะเดียวกันตลาดหุ้นจีน (All China) โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นเทคโนโลยีก็ปรับตัวขึ้นมาเช่นเดียวกัน ด้วยอานิสงส์จากทั้งการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่มีประสิทธิภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป แต่เมื่อพิจารณาระดับ Valuation ด้วย Relative P/E Ratio เปรียบเทียบกับดัชนี S&P 500 พบว่าสูงกว่าระดับ 2SD และสูงกว่าช่วงการระบาดของ COVID-19 สะท้อนระดับ Valuation ที่ตึงตัวอย่างมาก
รูปที่ 4 Relative P/E & Price MSCI
China to S&P 500 | Source :
Bloomberg As of 22/02/2021
ดังนั้น ในระยะสั้นตลาดหุ้นอาจมีการปรับฐานหรือพักฐาน
อย่างไรก็ตามในระยะยาว FINNOMENA Investment Team ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ
และจีน ด้วยความได้เปรียบในการใช้นโยบายการเงิน
การควบคุมการแพร่ระบาดและการใช้วัคซีน
อีกทั้งยังมีมาตรการการคลังที่เตรียมจะใช้ในปีนี้
นอกจากนั้นแล้วทั้งสหรัฐฯ
และจีนยังมีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังมีแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว
ซึ่งจะช่วยหนุนอัตรากำไรของตลาดหุ้นด้วย ด้านมุมมองอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นในตลาด
ณ ปัจจุบัน หากพิจารณาในมุมกลับกันแล้ว การเกิดเงินเฟ้ออ่อนๆ ในช่วง early-stage
กลับส่งผลให้อัตราการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนเติบโตอีกด้วย
อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลังวิกฤติปี 2008
รูปที่ 5 US10Y Breakeven และ
S&P 500 Bloomberg Earning Estimate
| Source : Bloomberg As of 22/02/2021
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด FINNOMENA
Investment Team จึงแนะนำปรับลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหุ้นของแต่ละ
Private Wealth Port เพื่อทำกำไรและหาโอกาสการลงทุนต่อไปในอนาคต
ดังนี้
FINNOMENA Recommended
การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผ่านทางระดับ Valuation และ
ส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ตึงตัวส่งผลให้อาจมีโอกาสปรับฐานได้ในระยะสั้น FINNOMENA
Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงบางส่วน
ประกอบไปด้วย TMBCOF 10% (ทั้งหมด) และ KFGBRAND-D 10% (ทั้งหมด)
เพื่อรักษากำไรที่เกิดขึ้น และ จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับฐานดังกล่าว
และ แสวงหาโอกาสในการลงทุนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหนุนให้หุ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางถึงยาว จึงยังคงแนะนำถือครองกองทุนหุ้น K-USA-A (D) ไว้ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนในรูปแบบของกระแสเงินสด และ Capital Gain ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แนะนำลดสัดส่วน KFGBRAND-A 10% (ทั้งหมด)
, ลดสัดส่วน TMBCOF 5% (ทั้งหมด)
เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 10%, เพิ่มสัดส่วนการลงทุน
TMBTM 5%
การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา
สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผ่านทางระดับ Valuation และ
ส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ตึงตัวส่งผลให้อาจมีโอกาสปรับฐานได้ในระยะสั้น FINNOMENA
Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงบางส่วน ประกอบไปด้วย
TMBCOF 5% (ทั้งหมด) และ KFGBRAND-A 10% (ทั้งหมด)
เพื่อรักษากำไรที่เกิดขึ้น และ
จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับฐานดังกล่าว และ
แสวงหาโอกาสในการลงทุนต่อไปในอนาคต
แนะนำลดสัดส่วน KFGBRAND-A 10%
(ทั้งหมด) ,ลดสัดส่วน TMBCOF 10%
(ทั้งหมด) , ลดสัดส่วน K-USA-A(A) 10%
(ทั้งหมด)
เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 20%,
เพิ่มสัดส่วนการลงทุน K-CASH 10%
การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผ่านทางระดับ Valuation และ ส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ตึงตัวส่งผลให้อาจมีโอกาสปรับฐานได้ในระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงบางส่วน ประกอบไปด้วย TMBCOF 10% (ทั้งหมด), K-USA-A(A) 10% (ทั้งหมด) และ KFGBRAND-A 10% (ทั้งหมด) เพื่อรักษากำไรที่เกิดขึ้น และ จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับฐานดังกล่าว และ แสวงหาโอกาสในการลงทุนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหนุนให้หุ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางถึงยาว
จึงยังคงแนะนำถือครองกองทุนหุ้น ONE-UGG-RA, KT-FINANCE และ
KT-Ashares-A ไว้
เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แนะนำลดสัดส่วน KFGBRAND-A 20%
(ทั้งหมด), ลดสัดส่วน K-USA-A(A) 20%
(ทั้งหมด)
เพิ่มสัดส่วนการลงทุน KFSMART 20%,
เพิ่มสัดส่วนการลงทุน K-CASH 20%
การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา สร้างแรงกดดันต่อสินทรัพย์เสี่ยงผ่านทางระดับ Valuation และ ส่วนชดเชยความเสี่ยงที่ตึงตัวส่งผลให้อาจมีโอกาสปรับฐานได้ในระยะสั้น FINNOMENA Investment Team จึงแนะนำลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงบางส่วน ประกอบไปด้วย K-USA-A(A) 20% (ทั้งหมด) และ KFGBRAND-A 20% (ทั้งหมด) เพื่อรักษากำไรที่เกิดขึ้น และ จำกัดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการปรับฐานดังกล่าว และ แสวงหาโอกาสในการลงทุนต่อไปในอนาคต
อย่างไรก็ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งการเงินและการคลังยังคงเป็นปัจจัยสำคัญหนุนให้หุ้นมีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะกลางถึงยาว จึงยังคงแนะนำถือครองกองทุนหุ้น ONE-UGG-RA และ WE-CHIG ไว้ เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
FINNOMENA Investment Team