“Private Equity” การลงทุนที่น่าจับตาแห่งยุค 3 เรื่องน่ารู้ก่อนลงทุนหุ้นนอกตลาด

ความผันผวนทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงสร้างผลกระทบต่อตลาดการเงินการลงทุนทั่วโลก บรรดานักลงทุนยังคงเผชิญกับความเสี่ยงในการลงทุนและอัตราผลตอบแทนคาดหวังที่เปลี่ยนไปจากภาวะปกติ โดยสินทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์จะให้ผลตอบแทนน้อยกว่าเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา
การลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก (Alternative Asset Class) อย่าง สินทรัพย์ตราสารทุนนอกตลาด หรือ หุ้นนอกตลาด (Private Equity) จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะโดยเฉลี่ยระยะยาวหุ้นโลกที่อยู่นอกตลาดสามารถให้ผลตอบแทนมากกว่าหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ถึง 2.7%ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และผลตอบแทนของหุ้นนอกตลาดในตลาดเกิดใหม่และจีนสูงกว่านั้นมาก
ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Private Banking Business Head Private
Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า “นอกจาก
Private Equity จะมีศักยภาพในการสร้างความเติบโตให้พอร์ตการลงทุน
และผลตอบแทนที่ดีในทุกภาวะเศรษฐกิจแล้ว
ยังช่วยเปิดโอกาสให้กับธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์
รวมถึงธุรกิจเกิดใหม่ที่มีศักยภาพในการเติบโตและสามารถปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจใหม่
(New Economy) ได้รับการสนับสนุนแหล่งเงินทุนจากผู้ลงทุนสถาบันหรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในการพัฒนาธุรกิจให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น
ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ส่วนธุรกิจรูปแบบเดิมก็จะได้รับการสนับสนุนทั้งในแง่ของการให้คำแนะนำ
และการระดมทุนของบรรดานักลงทุนและพาร์ตเนอร์
เพื่อช่วยพัฒนานวัตกรรมให้สามารถกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง”
รายงานของ Deloitte คาดการณ์ว่าภายในปี 2025
สินทรัพย์ภายใต้การจัดการของ Private
Equity ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 5.8
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ Private
Equity จะเป็นสินทรัพย์ทางเลือกมีความสำคัญมากในพอร์ตนักลงทุนทั่วโลก
KBank Private Banking จึงขอแนะนำ
3 เรื่องที่นักลงทุนควรรู้เกี่ยวกับสินทรัพย์ประเภทนี้ ก่อนตัดสินใจลงทุน
1. ลงทุนในหุ้นนอกตลาด คาดหวังกำไรในระยะยาว
การลงทุนใน Private Equity คือการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ยังไม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
โดยส่วนมากจะเป็นบริษัทที่ก่อตั้งมาไม่นาน ยังไม่มีรายได้
หรือมีรายได้แล้วแต่ยังไม่มีกำไร จึงต้องใช้ช่องทางการระดมทุน
ผ่านการขายหุ้นนอกตลาดให้กับนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและสามารถล็อกเงินลงทุนได้ในระยะยาว
โดยนักลงทุนจะคาดหวังการทำกำไรในอนาคต
เมื่อบริษัทนอกตลาดนำหุ้นเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
หรือขายหุ้นต่อให้ผู้ลงทุนรายอื่น
ดร.ตรีพลอธิบายว่า “แนวทางการลงทุนในกองทุน
Private Equity ในไทยจะเริ่มที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
(บลจ.) จะนำเงินไปพักอยู่ในกองสินทรัพย์สภาพคล่องสูง เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
ก็จะทยอยถูกเรียกออกมาจากกองสินทรัพย์สภาพคล่องสูงนี้
ไปลงทุนในกองทุนหลักซึ่งก็จะลงในบริษัทต่างๆต่อไป
กองทุนมีระยะเวลาที่ได้มีการตกลงกันไว้ที่จะลงทุนในบริษัทต่างๆจนครบและขายบริษัทเหล่านั้นเมื่อมีผลตอบแทนที่เหมาะสม
และกองทุนหลักจะส่งผลตอบแทนกลับมายังกองทุนของบลจ. และบลจ.
ก็จะส่งกำไรให้นักลงทุนเป็นลำดับถัดไป”
2. ประเมินราคาหุ้นจากปัจจัยพื้นฐานจริง
ราคาจึงแกว่งตัวน้อย
Private
Equity เป็นการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนที่ดีกว่าและมีความผันผวนน้อยกว่าสินทรัพย์อื่นๆ
ในระยะยาว ด้วยราคาที่แกว่งตัวน้อย
ช่วยลดความเสี่ยงของพอร์ตให้ลดลงและเนื่องจากเป็นการลงทุนในกองทุนนอกตลาด
ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจึงไม่ได้อิงอยู่กับการเก็งกำไรรายวันจากนักลงทุน
แต่ราคาจะถูกประเมินจากปัจจัยพื้นฐานจริงๆ ของบริษัท
พร้อมกับมีที่ปรึกษาซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเข้ามาช่วยให้คำแนะนำการลงทุนและคัดเลือกดีลหรือบริษัทที่มีความโดดเด่นต่อการลงทุน
จึงทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีอย่างสม่ำเสมอกว่าการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วไป
ดร.ตรีพล ให้มุมมองเสริมว่า “สำหรับในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นปัจจุบัน
การลงทุนใน Private
Equity กลับมามีความน่าสนใจอีกครั้ง
เนื่องจากหลายธุรกิจขาดสภาพคล่องและกำไรลดลง
ทำให้มีบริษัทที่ต้องการขายและต้องการเพิ่มทุนจำนวนมาก ดังนั้น
จึงเป็นโอกาสอันดีสำหรับการลงทุนใน Private Equity ที่จะสามารถเข้าไปซื้อบริษัทที่ดีในราคาที่ต่ำลงเพื่อที่จะนำมาเสริมศักยภาพให้เติบโตและสามารถขายในราคาที่สูงขึ้นได้”
3. ควรกระจายการลงทุนหลากหลาย
และมีผู้จัดการกองทุนที่เชี่ยวชาญ
การลงทุนในกองทุน Private Equity ให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยองค์ประกอบหลากหลาย
ดร.ตรีพล แนะนำว่า “นักลงทุนต้องมีระยะเวลาการลงทุนที่นานประมาณ
7-10 ปี
และกองทุนควรมีการกระจายลงทุนในหลากหลายธุรกิจ ในขณะเดียวกัน เนื่องจากกองทุน Private Equity เป็นการลงทุนในบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์
ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลทำได้จำกัด ดังนั้น
การมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถในการเฟ้นหาธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตได้
และมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำธุรกิจ จึงมีความสำคัญมาก ยิ่งไปกว่านั้น
กองทุนควรมีการแบ่งปันผลกำไรที่เหมาะสมระหว่างบริษัทผู้จัดการกองทุนและและนักลงทุนอีกด้วย”
“การลงทุนในกองทุน
Private Equity เป็นสิ่งที่น่าจับตาต่อไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันราคาหุ้นโลกปรับตัวสูงขึ้น
การกระจายความเสี่ยงเข้าไปลงทุนในบริษัทที่มีศักยภาพแต่ยังมีการเข้าลงทุนน้อยอยู่จึงมีส่วนช่วยสร้างการเติบโตของพอร์ตการลงทุนได้
ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนให้ทั้งธุรกิจเก่าและใหม่มีเงินทุนในการพัฒนา
ปรับตัว และสร้างสรรค์นวัตกรรม
เพื่อผลักดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายหลังวิกฤตได้ต่อไป” ดร.ตรีพล
กล่าวปิดท้าย